.

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่  10

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  21 ตุลาคม  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.

กิจกรรมวันนี้
 อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ออกมานำเสนอให้ครบ  วันนี้ดิฉันนำเสนอ ''ขวดผิวปาก''
หลักการทางวิทยาศาสตร์ของการเกิดเสียงของขวดผิวปาก เป็นหลักการเดียวกันกับการเกิดเสียงของเครื่องเป่า (ขลุ่ยต่างๆ) เมื่อลมพัดผ่านช่องเปิดของขวดพลาสติก จะทำให้ผนังขวดเกิดการสั่น เสียงที่เกิดขึ้น จะเกิดการกำทอนภายในขวดพลาสติก ส่งผลให้เสียงดังเพิ่มขึ้น 
ขนาดช่องเปิดมีผลอย่างไรครับ ? 
ช่องเปิดขนาดใหญ่จะให้เสียงที่ต่ำกว่าช่องเปิดขนาดเล็ก เนื่องจากผนังของขวดที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ จะสั่นด้วยความถี่ที่ต่ำกว่านั่นเอง
ทำได้แล้ว จะทำอะไรต่อดีครับ ? 
ในต่างประเทศ มีคนทำขวดผิวปากจำนวนมาก ไปติดไว้ในทุ่งโล่ง เมื่อมีลมพัด ขวดจะส่งเสียงประสานกันเซ็งแซ่เลยทีเดียว
 ขั้นต่อไป ให้น้องหาขวดขนาดและรูปร่างเดียวกัน ทดสอบเจาะช่องขนาดต่างๆ เทียบเสียงที่เกิดขึ้นกับโน้ตมาตรฐาน เมื่อทราบความสัมพันธ์ของช่องขนาดต่างๆ กับโน้ต เราก็สามารถสร้างเสียงประสานที่ไพเราะได้จากขวดหลายใบ


จากนั่นอาจารย์สอนเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กลุ่มของดิฉันหน่วยเรื่อง ''กล้วย''





















เทคนิคการสอนของอาจารย์
   อาจารย์บอกข้อแก้ไข ข้อที่ควรนำไปปรับปรุงในการทำสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละคน  อาจารย์สอนเขียนแผนทำให้เข้าใจในการเขียนแผนมากยิ่งขึ้น มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจน

การนำไปประยุกต์
 นำเอาสิ่งของเหลือใช้มาให้เด็กได้ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ได้ สอนเด็กได้จริงให้เด็กได้เรียนอยู่อย่างมีเหตุและผล  การเขียนแผนการสอนนำไปบูรณาการณ์ได้กับทุกวิชา 

ประเมินตนเอง :  ต้องไปหาข้อมูลในสิ่งประดิษฐ์เพิ่มยังไม่ชัดเจน  เข้าห้องเรียนตรงเวลา  เป็นผู้ฟังที่ดี

ประเมินเพื่อน : นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ครบทุกคน  คุยกันจนอาจารย์ต้องติ

ประเพื่อนอาจารย์ : ให้ข้อเสนอแนะที่่ดีแก่นักศึกษา นำไปต่อยอดในครั้งต่อไปได้

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่  9

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  14 ตุลาคม  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.


กิจกรรมวันนี้
    อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ของแต่ละคน  วันนี้ดิฉันไม่ได้เตรียมสิ่งประดิษฐ์มา จึงดูและเห็นข้อบกพร่องของเพื่อน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและข้อแก้ไขของแต่ละคน

สิ่งประดิษฐ์ของเพื่อน










เทคนิคการสอน
  อาจารย์มีการร่วมสนทนากับนักศึกษามีการถามคำถามให้นักศึกษาได้แสดงความคิดถึงแม้จะถูกหรือผิด อาจารย์ก็จะไม่ปิดกั้นความคิด มีข้อเสนอแนะดีๆบอกนักศึกษาให้ไปแก้ไขปรับปรุงในข้อบกพร่องของตนเอง


ประเมินตนเอง  :  ไม่มีความรับผิดชอบไม่ได้นำสื่อมา  ตอบคำถามในขณะที่เพือนให้ร่วมทำกิจกรรม  ฟังอาจารย์สอนอย่างตั้งใจ  เข้าเรียนตรงเวลา

ประเมินเพื่อน  :  ส่วนน้อยที่ไม่ได้เตรียมสิ่งประดิษฐ์มา  ให้ความร่วมมือในการเป็นผู้ฟังที่ดี

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  มีการบอกข้อแก้ไขสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละคน

สัปดาห์ที่ 8

นทึกอนุทินครั้งที่  8

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.



* ไม่มีการเรียนการสอน  สอบกลางภาค *


วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 7

บันทึกอนุทินครั้งที่  7

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  30  กันยายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.


กิจกรรมวันนี้ 

     กิจกรรมที่ 1  ลูกยาง
อุปกรณ์
1.กระดาษหน้าปก (paper)
2.กรรไกร (Scissors)
3.คลิปหนีบกระดาษ (paperclip)

ขั้นตอนการประดิษฐ์
1.นำกระดาษที่ได้มาพับครึ่งและนำกรรไกรมาตัดเป็นแนวตรงยาวให้ชิดกับรอยพับครึ่งของกระดาษ
2.พับส่วนบนของกระดาษเข้ามา 1 เซนติเมตร
3.นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ด้านที่พับส่วนบนเข้ามา จากนั่นกางปีกส่วนที่โดนตัดออกไปคนละข้างกัน
4.นำมาทดลองเล่น โดนการโยนและทำให้กระดาษหมุน

    อาจารย์ให้เพื่อนออกไปสาทิตการโยนของแต่ละคนให้ดู จะสังเกตเห็นได้ว่าการหมุนของกระดาษแต่ละคนลงมาสู่พื้่นไม่เหมือนกัน บางคนแกว่งลงอย่างสวย บางคนแกว่งน้อยไม่หมุนบ้างก็มี

*อ้างอิงภาพจากนางสาวชนิดา  บุญนาโค  เลขที่ 19  


กิจกรรมที่  2  แกนกระดาษทิชชู
อุปกรณ์
1.แกนกระดาษทิชชู
2.กระดาษตัดเป็นรูปวงกลม
3.ไหมพรม
4.กาว
5.กรรไกร
6.สี
7.ที่หนีบกระดาษเป็นรู

ขั้นตอนการประดิษฐ์
1.นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดครึ่งแล้วนำที่หนีบกระดาษมาเจาะรูสองข้างให้เท่ากัน จะได้ออกมา 4 รู
2.นำกระดาษวงกลมมาแปะตรงแกนกระดาษทิชชู วาดรูปลงไปให้สวยงาม
3.นำไหมพรหมมารอยกับแกนกระดาษทิชชูให้สามารถห้อยคอเราได้
4.จากนั่นก็ลองเล่น ทำยังไงให้แกนกระดาษทิชชูเลื่อนขึ้น-ลงไปมาได้





ยังคงมีการสรุปบทความจากเพื่อนทั้ง 5 คน  สับดาห์นี้เลขที่ 16-20 

เทคนิคการสอนของอาจารย์
   อาจาารย์ให้นักศึกษาใช้ความคิดอย่างอิสระ ให้นักศึกษาหาวิธีการเล่นเองว่าจะทำอย่างไรให้สิ่งของเหล่านี้เกิดการเคลื่อนไหวได้เอง ให้เกิดการสังเกต ลงมือประดิษฐ์เอง อาจารย์จะคอยช่วยเหลืออยู่ห่างๆสงสัยหรือไม่เข้าใจก็ถาม แต่จะไม่บอกวิธีการเล่นให้นักศึกษาคิดและค้นคว้าด้วยตนเอง


การนำไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำเอาสิ่งที่อาจารย์ให้ทำนี้ไปใช้สอนเด็กปฐมวัยได้จริง เพราะเป็นกิจกรรมง่ายๆไม่ยากแก่เด็ก
และเป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากวัสดุเหลือใช้เป็นของใช้ภายในบ้านหาง่ายไม่สิ้นเปลือง  เด็กจะได้คิดและรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เด็กมีความสุขกับการลงมือปฏิบัติด้วยตัวของเขาเอง


ประเมิน

ประเมินตนเอง :  เข้าสาย  ออกไปทำกิจกรรมให้เพื่อนดูหน้าห้อง  ฟังอาจารย์สอนอย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนให้ความร่วมมือในการออกไปทำกิจกรรมทุกคน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีสื่อที่หลากหลายทำให้นักศึกษาสนใจที่จะเรียนมากขึ้น