.

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่  16

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 2 ธันวาคม  พ.ศ. 2557




กิจกรรมที่ 1
     อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่ออกมานำให้ออกมานำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูให้ครบทุกคน
โดยเพื่อนมาสรุปวิจัยและโทรทัศน์ครูให้เพื่อนฟัง อาจารย์ชี้แนะให้คำอธิบายในสิ่งที่นำมา

กิจกรรมที่ 2
   อาจารย์ให้ทำแผ่นพับหน่วยของตนเอง กลุ่มดิฉันทำแผ่นพับหน่วย "กล้วย"
เป็นการทำแผ่นพับที่ผู้ปกครองสามารถมีส่วมร่วมกับการเรียนรู้ของเด็กได้ โรงเรียนและผู้ปกครองได้รู้ถึงการเรียนของเด็กว่าเรื่องหน่วยอะไร และผู้ปกครองสามารถนำสิ่งของมาช่วยเป็นสื่ิอในการเรียนของเด็กได้ จะช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่าย






*วันนี้เป็นการเรียนสัปดาห์สุดท้ายของภาคเรียนที่  1*


การนำไปประยุกต์ใช้ 
   นำเอาวิธีการทำแผ่นพับไปใช้เป็นสื่อในการเรียนได้และยังสามารถทำการเชื่อมโรงความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้ปกครอง  ส่วนการสรุปงานวิจัยและโทรทัศน์ครูของเพื่อนนั่นทำให้เราเข้าใจง่ายมากขึ้น
สามารถนำไปต่อยอดกิจกรรมต่างๆได้อย่างถูกวิธี

ประเมินตนเอง  : วันนี้เข้าเรียนสาย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอได้ดี 

ประเมินเพื่อน  :  เพื่อนนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูได้เข้าใจครบทุกคน  คุยกันบ้าง 

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ให้คำแนะนำข้อเสนอที่ดีแก่นักศึกษา ทำให้เข้าใจในการเรื่องมากขึ้น อาจารย์เน้นย้ำเรื่องการเขียนแผนเสมอ เพื่อในการไปฝึกสอนจะได้เขียนแผนได้ถูกต้อง




สรุปบทความเรื่อง "หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ?"

                                        จำเป็น เพราะหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
     ขณะนี้ สสวท. ได้ทำกรอบมาตรฐานหลักสูตรผ่านทุกกระบวนการที่สำคัญหมดแล้ว ก็คือผ่าน การประชาพิจารณ์ การนำไปทดลองใช้ การปรับแล้วนำไปทดลอง และวิจัยผลการใช้ ในส่วนของการทดลองใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย สสวท. ได้เชิญชวนให้โรงเรียนต่าง ๆ อาสาสมัครมาเป็นโรงเรียนทดลองใช้กรอบมาตรฐานหลักสูตร ฯ ได้โรงเรียนทั่วประเทศ 23 โรง จากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอีสาน และทดลองใช้ในปี 2551
    พบว่ากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยนั้นตอบโจทย์ครูได้ว่า ในการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ ครูจะสอนอะไร จะสอนแค่ไหน จะสอนอย่างไร และจะใช้สื่อรอบ ๆ ตัวเด็กนั้นมาเป็นสื่อในการเรียนรู้อย่างไร เพราะฉะนั้นคุณครูมีแนวทางสามารถที่จะจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยได้แน่นอน
     ทุกประเทศในโลกจะสอนปฐมวัยในเชิงบูรณาการ ก็คือจะบูรณาการทุกวิชาไว้ด้วยกัน เพราะถือว่าเด็กจะต้องพัฒนาเป็นองค์รวม แต่การที่ครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมนั้น จะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ตั้งในของแต่ละสาระ เช่น คณิตศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน วิทยาศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน ครูก็จะยึดเอากรอบมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรบูรณาการปฐมวัยของตัวเอง ทุกประเทศจะเป็นแบบนี้ รวมทั้งประเทศเราด้วย” อ. ชุติมากล่าวทิ้งท้าย

ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/38811

สรุปโทรทัศน์ครู เรื่อง"ฝึกเขียนเรียงความจากการสังเกต"

                                    ครูให้เด็กฝึกเขียนเรียงความ โดยนำเอาวิทยาศาสตร์มาช่วยในเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูล เด็กได้สังเกตได้ปฏิบัติจริงและมีการใช้กระบวนการกลุ่มในการลงความเห็น เด็กได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันและยังมีความสนุกสนานในการเห็นภาพของสิ่งที่ครูนำมา และขยายความคิดของเด็กได้ออกมาทางภาษาของเรียงความได้เป็นอย่างดี ครูได้ให้เด็กคนแรกออกมาใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้ล่วงคล้ำดูในถุงว่าสิ่งนั้นคืออะไร ให้เด็กได้รู้ว่าการสัมผัสนั้นสามารถให้รายละเอียดของข้อมูลได้  คนที่สองครูใช้ทักษะการชิมเพื่อให้เด็กรู้ว่าทักษะการชิมก็สามารถให้รายละเอียดที่แตกต่างของข้อมูลได้จริง   ครูนำผักผลไม้สิ่งของมาใส่ตะกร้าและให้เด็กออกมาหยิบจับ ได้สัมผัสดม ชิม เพื่อให้เด็กได้เกิดความสงสัยและหาคำตอบได้ด้วยตนเองและนำไปเขียนในใบสังเกต บันทึกข้อมูลของเด็ก   การสอนเขียนเรียงความครูมีภาพจิ๊กซอร์ให้เด็กช่วยกันต่ออย่างสมบูรณ์เป็นกลุ่ม ให้เด็กได้ใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่ ครูได้ให้เด็กใช้แผนภาพความคิดก่อนนำสู่เนื้อหา คำนำของเรียงความ
สรุปของเรียงความต้องเป็นการโน้มน้าวใจ และให้เด็กเขียนเรียงความเป็นรายบุคคลซึ้งจะง่ายต่อการเขียนเพราะเด็กนำความคิดกลุ่มมาใช้เขียนรายบุลคล



สรุปงานวิจัย  "การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"

                        การวิจัยครั้งนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ กับเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้

กลุ่มตัวอย่าง
    เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏเชียงใหม่  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  จำนวน 30 คน  โดยการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง  15  คน  กลุ่มควบคุม  15  คน  กลุ่มทดลองได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมข่างไม้  ส่วนกลุ่มควบคุุมได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างๆม้

การทดลอง
    ใช้แบบแผนการวิจัยของ  Randomized  Control  Pretest-Posttest Design ใช้เวลาทดลอง 4 สัปดาห์ครึ่ง สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 50 นาที  รวมจำนวน 18 ครั้ง

ตัวแปร
ตัวแปรต้น  :  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ตัวแปรตาม  :  การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะ


เครื่องมือที่ใช้วิจัย
    แผนการจัดกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้  แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภท

สติถิที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
    t-test for Independent Samples

ผลการวิจัย
     เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภทสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างๆม้ อย่างมีนัยสำคัญทางสติถิระดับ.01




วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่  15

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  25 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557



*สัปดาห์นีิ้  ดิฉันขาดเรียน*

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่  14

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่  19 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


กิจกรรมวันนี้
    อาจารย์มอบหมายงานให้เพื่อนคนที่ยังไม่ได้อ่านบทความ อาทิตย์หน้าให้นำวิจัยและโทรทัศน์ครูมาสรุปให้เพื่อนฟังหน้าห้อง   วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ


กิจกรรมที่ 1  การทำขนมวาฟเฟิล 


อุปกรณ์
1.แป้งสาลี
2.ไข่ไก่
3.ชีส
4.เนย
5.ที่ตี ที่ตวง จาน ถ้วย
6.แก้ว
7.นม  น้ำ
8.เครื่องอบวาฟเฟิล



วิธีทำ
1.เทนมลงในแป้งสาลี
2.ตีนมและแป้งให้เข้ากัน
3.เทไข่ไก่ลงไปตามด้วยน้ำและใส่ชีสลงไปตีให้เข้ากัน
4.ตักใส่ถ้วยแบ่งให้เท่าๆกับจำนวนเพื่อน
5.ทาเนยลงบนเครื่องอบวาฟเฟิล
6.เทแป้งสาลีลงบนเครื่องอบ จากนั่นรอฟูแล้วนำมาทานได้



กิจกรรมที่  2  เพื่อนนำเสนอแผนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

หน่วย สับปะรด 

หน่วย ดิน

การนำไปประยุกต์ใช้
    นำเอาวิธีการทำวาฟเฟิลไปใช้เด็กได้จริง ในเรื่องการทำ Cookking  เพราะเป็นการทำที่ง่าย อุปกรณ์สามารถหาได้ตามร้านทั่วไป เป็นอาหารที่เด็กเคยรับประทานกันอยู่บ่อยๆ ควรสอนถึงโทษด้วยว่าทานมากจะทำให้อ้วน 

ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา ฟังอาจารย์สอน ช่วยเพื่อนทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีการช่วยเหลือกันในกลุ่มได้ดี มีความสามัคดีกัน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาอยากเรียนมากขึ้น มีการทำกิจกรรมของจริงในห้องเรียน ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติและให้คำแนะนำที่ดีแก่นักศึกษา



วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่  13

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  11 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.



กิจกรรมในวันนี้
   อาจารย์ให้เพื่อนออกมานำเสนอแผนกลุ่มให้ครบทุกกลุ่ม  


กลุ่มแรก หน่วย "สับปะรด"   บอกประโยชน์และโทษของสับปะรด เพื่อนทำน้ำสับปะรด



กลุ่มสอง  หน่วย "ส้ม" บอกชนิดของส้มว่ามีอะไรบ้าง ? การนับจำนวนส้มแต่ละขนิด



กลุ่มสาม  หน่วย "ทุเรียน" สอนชนิดของทุเรียน การเปรียบเทียบแต่ละชนิดของทุเรียน



กลุ่มสี่  หน่วย"มด" มดมีกี่ชนิด การเปรียบเทียบความแตกต่างมดแดงและมดดำ



กลุ่มห้า  หน่วย "ดิน" ดินมีกี่ชนิด ความแตกต่างของแต่ละชนิดเป็นอย่างไร





กลุ่มหก  หน่วย "น้่ำ" ทำการทดลองกับน้ำว่าทำอะไรได้บ้าง



กิจกรรมที่ 2  การทำไข่ทาโกยากิ

อุปกรณ์
1.ไข่ไก่  
2.น้ำปลา ซอส
3.แครอท
4.ปูอัด
5.หัวหอม
6.กระดาษรอง
7.มีด
8.ข้าว
9.กรรไกร
10ช้อน-ส้อม
11.ถ้วย

ขั้นตอนการทำ
  แบ่งกลุ่มละ 5 คน และนั่งเป็นฐาน แต่ละฐานจะต้องมีหน้าที่แตกต่างกัน เช่น ฐานที่ 1 ทำหน้าที่ตอกไข่  ส่งต่อให้ฐานที่ 2 เป็นคนปรุงใส่ผัก ซอสลงไป  ฐานที่ 3 หั่นผัก  ฐานที่ 4 ตัดกระดาษพร้อมเตรียมถ้วยให้เพื่อน  ฐานที่ 6 นำไข่ใส่หลุมแล้วดูว่าสุกหรือยัง จากนั่นนำขึ้นมาใส่ถ้วย





การนำไปประยุกต์ใช้
      ดูเทคนิควิธีการสอนของเพื่อนแต่ละกลุ่มไปใช้สอนเด็กได้จริง เพราะแต่ละกลุ่มมีการสอนที่หลากหลายความน่าสนใจของเพื่อนที่ต่างกัน ซึ่่งอาจารย์คอยชี้แนะอยู่ตลอดเวลา   เรื่องการทำไข่ทาโกยากิ เป็นการทำที่ไม่ยากเป็นการนำไข่จากที่เราทานปกติมาทำในรูปแบบทาโกยากิ ซึ่งเด็กๆก็เคยรับประทานในแบบทาโกธรรมดา แต่ทาโกไข่ที่อาจารย์สอนทำนั่นมีทั้งประโยชน์และเด็กยังนำไปกลับไปผู้ปกครองสอนทำได้อีกด้วย

ประเมินตนเอง  :  มีความสนใจในการทำไข่ทาโกยากิ ช่วยเพื่อนใส่เครื่องปรุง ให้ความร่วมมือได้ดี

ประเมินเพื่อน  :  เพ่ื่อนยังนำเสนอแผนได้ไม่มี อาจารย์ตักเตือนและให้มานำเสนอใหม่ ช่วยกันทำกิจกรรมไข่ทาโกยากิได้ดีทุกคน

ประเพื่อนอาจารย์  :  อาจารย์มีวิธีการสอนที่น่าสนใจ มีกิจกรรมเสริมมาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ ทำให้นำเอาไปใช้สอนเด็กได้จริงในอนาคต  ให้คำปรึกษา แนะนำกลุ่มเพื่อนที่สอนแผนได้ดี