สรุปงานวิจัย "การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"
การวิจัยครั้งนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ กับเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้
กลุ่มตัวอย่าง
เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มทดลองได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมข่างไม้ ส่วนกลุ่มควบคุุมได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างๆม้
การทดลอง
ใช้แบบแผนการวิจัยของ Randomized Control Pretest-Posttest Design ใช้เวลาทดลอง 4 สัปดาห์ครึ่ง สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 50 นาที รวมจำนวน 18 ครั้ง
ตัวแปร
ตัวแปรต้น : กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ตัวแปรตาม : การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะ
เครื่องมือที่ใช้วิจัย
แผนการจัดกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภท
สติถิที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
t-test for Independent Samples
ผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภทสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างๆม้ อย่างมีนัยสำคัญทางสติถิระดับ.01
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น