.

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่  10

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  21 ตุลาคม  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.

กิจกรรมวันนี้
 อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ออกมานำเสนอให้ครบ  วันนี้ดิฉันนำเสนอ ''ขวดผิวปาก''
หลักการทางวิทยาศาสตร์ของการเกิดเสียงของขวดผิวปาก เป็นหลักการเดียวกันกับการเกิดเสียงของเครื่องเป่า (ขลุ่ยต่างๆ) เมื่อลมพัดผ่านช่องเปิดของขวดพลาสติก จะทำให้ผนังขวดเกิดการสั่น เสียงที่เกิดขึ้น จะเกิดการกำทอนภายในขวดพลาสติก ส่งผลให้เสียงดังเพิ่มขึ้น 
ขนาดช่องเปิดมีผลอย่างไรครับ ? 
ช่องเปิดขนาดใหญ่จะให้เสียงที่ต่ำกว่าช่องเปิดขนาดเล็ก เนื่องจากผนังของขวดที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ จะสั่นด้วยความถี่ที่ต่ำกว่านั่นเอง
ทำได้แล้ว จะทำอะไรต่อดีครับ ? 
ในต่างประเทศ มีคนทำขวดผิวปากจำนวนมาก ไปติดไว้ในทุ่งโล่ง เมื่อมีลมพัด ขวดจะส่งเสียงประสานกันเซ็งแซ่เลยทีเดียว
 ขั้นต่อไป ให้น้องหาขวดขนาดและรูปร่างเดียวกัน ทดสอบเจาะช่องขนาดต่างๆ เทียบเสียงที่เกิดขึ้นกับโน้ตมาตรฐาน เมื่อทราบความสัมพันธ์ของช่องขนาดต่างๆ กับโน้ต เราก็สามารถสร้างเสียงประสานที่ไพเราะได้จากขวดหลายใบ


จากนั่นอาจารย์สอนเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กลุ่มของดิฉันหน่วยเรื่อง ''กล้วย''





















เทคนิคการสอนของอาจารย์
   อาจารย์บอกข้อแก้ไข ข้อที่ควรนำไปปรับปรุงในการทำสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละคน  อาจารย์สอนเขียนแผนทำให้เข้าใจในการเขียนแผนมากยิ่งขึ้น มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจน

การนำไปประยุกต์
 นำเอาสิ่งของเหลือใช้มาให้เด็กได้ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ได้ สอนเด็กได้จริงให้เด็กได้เรียนอยู่อย่างมีเหตุและผล  การเขียนแผนการสอนนำไปบูรณาการณ์ได้กับทุกวิชา 

ประเมินตนเอง :  ต้องไปหาข้อมูลในสิ่งประดิษฐ์เพิ่มยังไม่ชัดเจน  เข้าห้องเรียนตรงเวลา  เป็นผู้ฟังที่ดี

ประเมินเพื่อน : นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ครบทุกคน  คุยกันจนอาจารย์ต้องติ

ประเพื่อนอาจารย์ : ให้ข้อเสนอแนะที่่ดีแก่นักศึกษา นำไปต่อยอดในครั้งต่อไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น