.

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่  15

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  25 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557



*สัปดาห์นีิ้  ดิฉันขาดเรียน*

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่  14

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่  19 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


กิจกรรมวันนี้
    อาจารย์มอบหมายงานให้เพื่อนคนที่ยังไม่ได้อ่านบทความ อาทิตย์หน้าให้นำวิจัยและโทรทัศน์ครูมาสรุปให้เพื่อนฟังหน้าห้อง   วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ


กิจกรรมที่ 1  การทำขนมวาฟเฟิล 


อุปกรณ์
1.แป้งสาลี
2.ไข่ไก่
3.ชีส
4.เนย
5.ที่ตี ที่ตวง จาน ถ้วย
6.แก้ว
7.นม  น้ำ
8.เครื่องอบวาฟเฟิล



วิธีทำ
1.เทนมลงในแป้งสาลี
2.ตีนมและแป้งให้เข้ากัน
3.เทไข่ไก่ลงไปตามด้วยน้ำและใส่ชีสลงไปตีให้เข้ากัน
4.ตักใส่ถ้วยแบ่งให้เท่าๆกับจำนวนเพื่อน
5.ทาเนยลงบนเครื่องอบวาฟเฟิล
6.เทแป้งสาลีลงบนเครื่องอบ จากนั่นรอฟูแล้วนำมาทานได้



กิจกรรมที่  2  เพื่อนนำเสนอแผนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

หน่วย สับปะรด 

หน่วย ดิน

การนำไปประยุกต์ใช้
    นำเอาวิธีการทำวาฟเฟิลไปใช้เด็กได้จริง ในเรื่องการทำ Cookking  เพราะเป็นการทำที่ง่าย อุปกรณ์สามารถหาได้ตามร้านทั่วไป เป็นอาหารที่เด็กเคยรับประทานกันอยู่บ่อยๆ ควรสอนถึงโทษด้วยว่าทานมากจะทำให้อ้วน 

ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา ฟังอาจารย์สอน ช่วยเพื่อนทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีการช่วยเหลือกันในกลุ่มได้ดี มีความสามัคดีกัน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาอยากเรียนมากขึ้น มีการทำกิจกรรมของจริงในห้องเรียน ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติและให้คำแนะนำที่ดีแก่นักศึกษา



วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่  13

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  11 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.



กิจกรรมในวันนี้
   อาจารย์ให้เพื่อนออกมานำเสนอแผนกลุ่มให้ครบทุกกลุ่ม  


กลุ่มแรก หน่วย "สับปะรด"   บอกประโยชน์และโทษของสับปะรด เพื่อนทำน้ำสับปะรด



กลุ่มสอง  หน่วย "ส้ม" บอกชนิดของส้มว่ามีอะไรบ้าง ? การนับจำนวนส้มแต่ละขนิด



กลุ่มสาม  หน่วย "ทุเรียน" สอนชนิดของทุเรียน การเปรียบเทียบแต่ละชนิดของทุเรียน



กลุ่มสี่  หน่วย"มด" มดมีกี่ชนิด การเปรียบเทียบความแตกต่างมดแดงและมดดำ



กลุ่มห้า  หน่วย "ดิน" ดินมีกี่ชนิด ความแตกต่างของแต่ละชนิดเป็นอย่างไร





กลุ่มหก  หน่วย "น้่ำ" ทำการทดลองกับน้ำว่าทำอะไรได้บ้าง



กิจกรรมที่ 2  การทำไข่ทาโกยากิ

อุปกรณ์
1.ไข่ไก่  
2.น้ำปลา ซอส
3.แครอท
4.ปูอัด
5.หัวหอม
6.กระดาษรอง
7.มีด
8.ข้าว
9.กรรไกร
10ช้อน-ส้อม
11.ถ้วย

ขั้นตอนการทำ
  แบ่งกลุ่มละ 5 คน และนั่งเป็นฐาน แต่ละฐานจะต้องมีหน้าที่แตกต่างกัน เช่น ฐานที่ 1 ทำหน้าที่ตอกไข่  ส่งต่อให้ฐานที่ 2 เป็นคนปรุงใส่ผัก ซอสลงไป  ฐานที่ 3 หั่นผัก  ฐานที่ 4 ตัดกระดาษพร้อมเตรียมถ้วยให้เพื่อน  ฐานที่ 6 นำไข่ใส่หลุมแล้วดูว่าสุกหรือยัง จากนั่นนำขึ้นมาใส่ถ้วย





การนำไปประยุกต์ใช้
      ดูเทคนิควิธีการสอนของเพื่อนแต่ละกลุ่มไปใช้สอนเด็กได้จริง เพราะแต่ละกลุ่มมีการสอนที่หลากหลายความน่าสนใจของเพื่อนที่ต่างกัน ซึ่่งอาจารย์คอยชี้แนะอยู่ตลอดเวลา   เรื่องการทำไข่ทาโกยากิ เป็นการทำที่ไม่ยากเป็นการนำไข่จากที่เราทานปกติมาทำในรูปแบบทาโกยากิ ซึ่งเด็กๆก็เคยรับประทานในแบบทาโกธรรมดา แต่ทาโกไข่ที่อาจารย์สอนทำนั่นมีทั้งประโยชน์และเด็กยังนำไปกลับไปผู้ปกครองสอนทำได้อีกด้วย

ประเมินตนเอง  :  มีความสนใจในการทำไข่ทาโกยากิ ช่วยเพื่อนใส่เครื่องปรุง ให้ความร่วมมือได้ดี

ประเมินเพื่อน  :  เพ่ื่อนยังนำเสนอแผนได้ไม่มี อาจารย์ตักเตือนและให้มานำเสนอใหม่ ช่วยกันทำกิจกรรมไข่ทาโกยากิได้ดีทุกคน

ประเพื่อนอาจารย์  :  อาจารย์มีวิธีการสอนที่น่าสนใจ มีกิจกรรมเสริมมาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ ทำให้นำเอาไปใช้สอนเด็กได้จริงในอนาคต  ให้คำปรึกษา แนะนำกลุ่มเพื่อนที่สอนแผนได้ดี






วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่  12

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  4 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.



กิจกรรมวันนี้
  อาจารย์ให้นำเสนอแผนการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่ม แต่ว่าทุกกลุ่มยังทำมาไม่ดี อาจารย์จึงสอนเขียนตั้งแต่เริ่มต้น โดยให้ลองเรียงหัวข้อใหม่เริ่มจาก กรอบมาตรฐาน  สาระที่ควรรู้  แนวคิด  เนื้อหา 
ประสบการณ์สำคัญ  บูรณาการ  กิจกรรมหลัก  วัตถุประสงค์
  จากนั้นอาจารย์ให้เพื่อนออกมานำเสนอแผนกลุ่ม  กลุ่มของฉันได้นำเสนอในวันนี้ คือหน่วย กล้วย

กลุ่มที่ 1 หน่วย ไข่

เพื่อนสาธิตวิธีการทอดไข่เจียว



กลุ่มที่ 2  หน่วย ข้าว 

เพื่อนสาธิตการทำซูชิ


กลุ่มที่ 3 หน่วย กล้วย

สาธิตการทำกล้วยทอด


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      เรานำสิ่งที่เพื่อนสอนไปใช้สอนเด็กได้จริงแต่บางอย่างเราควรดัดแปลงให้เหมาะสม เช่นการทอดไข่ของเพื่อนควรใส่ผักให้เด็กได้ทาน การทำซูชิก็ต้องเพียงพอกับเด็ก การทำกล้วยทอดยากเกินไปเพราะใช้เวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นทำกล้วยตากหรือกล้วยบวชชีเผื่อความสะดวกและไม่อันตรายต่อเด็กในการทำกิจกรรม


ประเมินตนเอง  :  เตรียมความพร้อมในการสิ่งของมานำเสนอแผนให้เพื่อนให้ดู  เข้าห้องเรียนสาย

ประเมินเพื่อน :  เพืื่อนบางกลุ่มยังไม่มีความพร้อมในการนำเสนอแผน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะ ข้อปรับปรุงดีมาก นำไปแก้ไขใช้ได้จริง

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่  11

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  28  ตุลาคม  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.


กิจกรรมวันนี้  อาจารย์มีการนำสิ่งของมาให้นักศึกษาได้ทดลองกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

1. เทียน  ไม้ขีดไฟ  แก้วน้ำ  ถ้วย  
-ครูจะจุดเทียน แล้วนำแก้วน้ำมาครอบเทียนไว้ ผลสรุปว่าเทียนดับ เนื่องจากอากาศที่อยู่ในแก้วไม่มีการถ่ายเทจึงทำให้เทียนดับ






   








*อ้างอิงรูปจากน.ส.อุมาพร ปกติ  เลขที่ 8

2. การพับกระดาษ
- นำกระดาษ  A4 มาแบ่งเป็น 4 ส่วน จากนั่นพับกระดาษเป็นสีเหลี่ยมสีทบและฉีกให้โค้งเป็นรูปดอกไม้
- จากนั่นทำไปใส่ในน้ำกระดาษก็จะคลี่ออกเป็นรูปดอกไม้
เนื่องจากน้ำซึมเข้าไปในกระดาษ กระดาษจึงมีการคลายรูปออกมาเป็นรูปที่เราฉีกไว้ในตอนแรก

































3. นำขวดน้ำมาเจาะรู เทน้ำลงไปในขวด ถ้าเราปิดฝาน้ำก็จะหยุดไหลแต่ถ้าเราเปิดฝาน้ำในขวดก็จะไหลออกมา

















4. ดิินน้ำมัน นำดินน้ำมันมาใส่ในน้ำถ้าเราปั้นเป็นก้อน ดินน้ำมันก็จะจม แต่ถ้าเราปั้นให้แบนและบางมีขอบกั้น ดินน้ำมันจะลอยน้ำได้ 1-2 นาที

















5. การนำน้ำใส่ขวดและมีสายยางต่อ ถ้าเราวางในระดับที่เท่ากันน้ำก็จะไม่พุงออกมา แต่ถ้าเราวางในระดับที่ต่ำกว่า น้ำก็จะพุงออกมาลักษณะนี้คล้ายๆกับน้ำพุ



6. การเทวัตถุลงไปในน้ำ ก่อนเทวัตถุจะมีขนาดเท่าเดิมและจมติดแก้ว
พอเทน้ำลงไปวัตุจะเกินการลอยดูเหมือนมีขนาดใหญ่ขึ้น


















   หลังจากเสร็จการทดลองอาจารย์ได้สรุปเหตุและผลว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้? และสอนเขียนแผนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทั้งหมด

ประเมินเพื่อน  :  เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกันทุกคน  คุยกันเล็กน้อย

ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา  ใช้คำถามที่กระตุ้นความคิดแก่นักศึกษาได้คิดเอง มีเทคนิควิธีในการสอนที่หลากหลาย ทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น