.

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่  6

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  23  กันยายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้่อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องทฤษฏีการสร้างความรู้ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยอย่างไร? มีการนำเสนอบทความ 5 คนเหมือนเดิม 


กิจกรรมที่ทำ
   อาจารย์มีกระดาษมาให้เป็นรูปนกกับผีเสื้อ ให้นักศึกษาเลือกมา 1 รูป จากนั่นตัดตามภาพ และนำเศษกระดาษที่เหลือ มาดัดแปลงทำเป็นรูปที่สอดคล้องกัน หมุนได้สองด้าน









   อาจารย์มีตัวอย่างการสังเกตของแสง โดยทำจากแกนกระดาษทิชชู มาให้นักศึกษาได้ดู ซึ่งเป็นสิ่งของประดิษฐ์ที่นักศึกษาสามารถทำขึ้นเองได้และให้เด็กปฐมวัยทำได้อีกด้วย




อาจารย์ให้ทำแผนผังความคิดกลุ่มดิฉันทำเรื่อง ''กล้วย''




การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำเอาสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์นำมาให้ทำและให้ดูไปใช้สอนกับเด็กได้จริง ให้เด็กได้ประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้และยังเป็นการประดิษฐ์ง่ายๆที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำจริง เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการลงมือทำจริง 



ประเมินตนเอง :  วันนี้แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์  ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ  มีการแสดงความคิดเห็นอภิปรายกับอาจารย์


ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนเข้าเรียนตรงเวลา   ทำงานที่รับมอบหมายได้อย่างดี  


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีสื่อมาให้นักศึกษาได้ดูและได้ทำจริง  มีการสอดแทรกความรู้ทุกครั้ง มีการใช้คำถามกับนักศึกษาให้นักศึกษารู้จักคิดและตอบคำถามเป็น  


                                                           




วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่  5

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  16  กันยายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.



ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรม ให้นักศึกษาดู CD เรื่อง ความลับของแสง  และสรุปเนื้อหาที่ได้รับ
  

ความลับของแสง

      ถ้าไม่มีแสงคนเราก็จะมองอะไรไม่เห็น ในเวลาไฟดับจะสังเกตุได้ว่าสายตาของเราจะค่อยๆปรับแสงให้เข้ากับความมืด พอไฟมาตาจะยังคงพร่ามัวเราต้องรอให้ตาหรับสมดุลก่อน  จากนั่นจะมองได้ชัดเอง
แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง แสงเคลื่อนที่ได้เร็วมาก 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที

การทดลอง
     นำกล่องมาเจาะรูและนำวัตถุใส่ลงไปในกล่อง จากนั่นผิดฝากล่อง เราสังเกตว่าในกล่องในมืดมากเราไม่สามารถมองเห็นวัตถุนั่นได้  จากนั่นเราเจาะฝากล่องอีก 1 รู  ปิดฝากล่อง และนำไฟฉายมาส่องในรูปให้กระทบกับวัตถุจะเห็นได้ว่าเราสามารถมองเห็นวัตถุนั่นได้อย่างชัดเจน  สรุปได้ว่า แสงต้องมีการสะท้อนของวัตถุมายังสายตาของเราจึงทำให้เรามองเห็นของสิ่งนั่น

   วัตถุต่างๆในโลกมี 3 ชนิด  วัตถุโปร่งแสง  วัตถุโปร่งใส  วัตถุทึบแสง  

การเคลื่อนที่ของแสงที่เป็นเส้นตรงเรานำมาใช้ประโยน์ได้ การทำกล้องฉายภาพแบบต่างๆ เช่น 
กล้องรูเข็ม  การสะท้อนของแสงมีการใช้ไฟฉายกับกระจก  เงาของเราในกระจกเกิดจากการสะท้อนของแสง ต่อมามีการทดลอง

   กล้องคาไลโดสโคป (Kaleidoscope) อุปกรณ์คือกระจก 3 บานมาประกบกันให้เป็นกระบอกทรงสามเหลี่ยม แล้วเห็นภาพที่เยอะแยะ  กล้องคาไลโดสโคปเกิดขึ้นเยอะแยะเพราะใช้หลักการสะท้อนของแสงและมุมประกบของกระจก เมื่อแสงตกกระทบในกระบอกทรงสามเหลี่ยม มันก็จะสะท้อนไปมาจึงทำให้เกิดภาพมากมาย

   การหักเหของแสง (Refraction of light) แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลิื่อนที่เพราะแสงเดินผ่านวัตถุตัวกลาง เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าในอากาศเส้นของแสงก็จะหักเหไป
   ตอนฝนตกเราก็จะเห็นรุ้งกินน้ำเพราะรุ้งกินน้ำเกิดจากการหักเหของแสง

เงา (Shadow)เป็นสิ่งที่คู่กันกับแสงเสมอ เงาเกิดขึ้นได้เพราะแสง เงาของวัตถุจะเกิดจากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ
 

การนำไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำการทดลองจากการดูวีดีโอนี้ไปใช้สอนเด็กได้จริง ซึ้งการทดลองสามารถทำได้จริง เด็กๆจะยิ่งอยากรู้และเข้าใจในเรื่องของแสงมากกว่าการที่เราไปนั่งสอนเป็นตัวหนังสือ

ประเมิน

ประเมินตนเอง  :  ได้รับงานที่อาจารย์มอบหมายให้และตั้งใจทำอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน  :  เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สั่งงานและกลับไปทำงานที่ได้รับมอบหมายกันทุกคน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์สั่งงานไว้ให้ทำเพราะอาจารย์ติดธุระ

สัปดาห์ที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่  4

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  9  กันยายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้่ก่อนนำเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้เปิดบล็อกเกอร์ของเพื่อนแต่ละคนและบอกข้อเสนอแนะของแต่ละคน มีการนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน 5 คน

การนำเสนอบทความมีดังนี้

คนที่  1   Darawan Glomjai    เรื่องจุดประเด็นเด็กคิดนอกกรอบ กิจกรรมสนุกกับของเล่นวิทยาศาตร์

คนที่  2  Patintida chlamboon   เรื่องทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์

คนที่  3  jirawan Jannongwa    เรื่องวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สำหรับอย่างไรกับอนาคตของชาติ

คนที่  4  Umaporn Porkkati    เรื่องเมื่อลูกน้อยเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์จากดนตรี

คนที่  5  Jarunan Jankan    เรื่องการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

    วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง  ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

วิทยาศาสตร์ หมายถึง การสืบค้นการจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมีทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ มีการทดลองเพื่อค้นหาความจริง

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลง (Change) 
2. ความแตกต่าง (Diffetence) 
3. การปรับตัว (Adapting)
5. ความสมดุล (Equilibrium)
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อมูล
ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
1. ตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของเด็ก
2. พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. เสริมสร้างประสบการณ์
4. พัฒนาความคิดรวบยอด
5. พัฒนาทักษะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
6. สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง


ขั้นตอนการสอน
   อาจารย์สอนโดยมีการถาม ตอบกับนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตนเอง
มีการพูดคุยอภิปรายระหว่างครูและนักศึกษา  มีการใช้คำถามปลายเปิดแก่นักศึกษา

การนำไปประยุกต์ใช้
 เราสามารถนำเทคนิคการสอนของอาจารย์ไปใช้สอนได้จริงๆในอานาคต  การเรียนรู้เรื่องทักษะวิทยาศาสตร์นำไปบูรณาการกับทุกวิชาได้จริง สามารถนำไปจัดแผนการเรียนการสอนสำหรับเด็กได้

ประเมิน

ประเมินตนเอง  :  มีการเสนอความคิดเห็นแก่อาจารย์  ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนมีความสนใจในการเรียน ให้ความร่วมมือกับอาจารย์ผู้สอน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ไม่น่าเบื่อ ทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 3



บันทึกอนุทินครั้งที่  3

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  2  กันยายน  พ.ศ. 2557
เวลา  8.30 -  12.20 น.




ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้อาจารย์เปิดบล็อกของเพื่อนให้ดูก่อนสอน มีการแนะนำวิธีการตกแต่ง การเสริมบทความลงบล็อกของแต่ละคน และก่อนจะเข้าสู่บทเรียนมีการนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน โดยเริ่มจากเลขที่ 1 
ให้นำเสนออาทิตย์ละ  5 คน

การนำเสนอบทความ 5 คน


คนที่ 1  Kamonwan Nakwichen  เรื่องวิทยาศาสตร์กับการทดลอง 

คนที่ 2  Sirada Sakbud     เรื่องภาระกิจตามหาใบ้ไม้ 

คนที่ 3  Siripron Pudlom   เรื่องเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการฉบับเด็กชายขอบ


คนที่ 4   Siriwan Krudnaim   เรื่องการแยกเมล็ดพืช 


คนที่ 5  Kwanruthai Yaisuk   เรื่องเป่าลูกโป่ง 


ขั้นการสอน

   วันนี้อาจารย์สอนเรื่องธรรมชาติของเด็ก
- พอใจคนที่ตามใจ
- มีช่วงความสนใจสั้น 8-10 นาที
- สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
- อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
- ชอบถาม ''ทำไม" ตลอดเวลา
- ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
- ช่วยตนเองได้


การจัดกิจกรรมพัฒนาเด็ก
1. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. จัดให้เด็กได้ฝึกทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
3. จัดกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
4. จัดให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม


นักทฤษฎี

กีเซล (Gesell) เชื่อว่า • พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ

ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่า  • ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็ก ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก

อีริคสัน (Erikson) เชื่อว่า  • ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น

เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่า • พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
ดิวอี้ (Dewey) เชื่อว่า   • เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ

สกินเนอร์ (Skinner)  เชื่อว่า  • ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป

เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi)  เชื่อว่า  • ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา

เฟรอเบล (Froeble) เชื่อว่า   • ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี

เอลคายน์ (Elkind) เชื่อว่า • การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก


กิจกรรม
   หลังจากที่อาจารย์สอนเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนเขียนสรุปแผนผังความคิดได้รับในวันนี้ส่งท้ายคาบ


การนำไปประยุกต์ใช้
   เราสามารถนำการสอนเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆไปปรับใช้ในการจัดการวางแผนในการจัดกิจกรรมได้จริง โดยนำสิ่งของรอบตัวมาสอนเด็กได้และเรายังสามารถนำไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นๆได้อีกด้วย


ประเมิน


ประเมินตนเอง:  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอนได้ดี


ประเมินเพื่อน : การอ่านบทความของเพื่อนยังหามาไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีสื่อในการสอนสามารถทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 2



บันทึกอนุทินครั้งที่  2
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  26 สิงหาคม  พ.ศ. 2557
เวลา  8.30 -  12.20 น.


กิจกรรมวันนี้


    อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก โดยมีรูปเด็กๆร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ดังนี้

- การตอกไข่ : เด็กได้สัมผัส การได้กลิ่น ฝึกการสังเกตุ การทดลอง
- ประสาทสัมผัส : ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส กายประสาทสัมผัส จมูกสูทดม
- การเล่นในมุม : เด็กจะได้ทักษะต่างๆของแต่ละมุม
- การปลูกพืช : พืชบางชนิดต้องดารน้ำและพืชบางชนิดไม่ต้องการน้ำ เป็นการฝึกประสบการณ์ให้แก่เด็ก

แล้วอาจารย์ยังถามคำถามอีกว่า
เมื่อเราพูดถึงเด็กปฐมวัยนึกถึงอะไร ?
1.การเล่น
2.ขี้สงสัย
3.ประสบการณ์
4.การอบรมเลี้ยงดู
5.ความสนุกสนาน
6.การเจริญเติบโต
7.การเรียนรู้
8.การมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน



เด็กปฐมวัย & การรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยคำถามที่ว่า....
วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ?


- ไม่จริง เพราะ วิทยาศาสตร์มีอยู่รอบตัวเด็ก พร้อมทั้งเปิดโอกาศให้เด็กอยากรู้อยากลอง และสนุกในการทำกิจกรรม

ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?
- ไม่ยาก แต่อย่าเอาการคำนวณเข้ามาเยอะ ให้เด็กได้เรียนรู้ประสบการณ์เรื่องนั้นๆ

ควรให้เด็ก อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?
- ควรให้เด็กได้ลองทำด้วยตัวเอง


ทบทวนบทบาท

- เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
- ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
- จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมและต่อยอดทักษะแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
- ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำความความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงในการสอน ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำในสิ่งที่ชอบ ไม่ควรปิดโอกาสความคิด การอยากรู้ การสงสัย ของเด็ก  ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการดูแลลูกด้วย



ประเมิน

ประเมินตนเอง   วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์ มีการจดตามที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน     เพื่อนมีความตั้งใจในการเรียน  มีการแสดงความคิดเห็นกับครูผู้สอนอย่างดี

ประเมินอาจารย์   อาจารย์มีสื่อ Power  Point  ในการสอน  มีการนำภาพมาประกอบให้นักศึกษาดู

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 1


บันทึกอนุทินครั้งที่  1
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  19  สิงหาคม  พ.ศ. 2557
เวลา  8.30 -  12.20 น.

ความรู้ทีได้รับ

 วันนี้อาจารย์ผู้สอนได้แจกแนวการสอนของวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ รู้ถึงการใช้คำถามพัฒนาความคิด
การประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้

ผลลัพท์การเรียนรู้

1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
2.ด้านความรู้
3.ด้านทักษะปัญญา
4.ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
5.ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6.ด้านการจัดการเรียนรู้

  อาจารย์ได้อธิบายวิธีการสร้างบล็อกควรมีองค์ประกอบดังนี้
1.ชื่อและคำอธิบายบล็อก
2.รูปและข้อมูลผู้เรียน
3.ปฏิทินนาฬิกา
4.เชื่อมโยงบล็อกอาจารย์ผู้สอน หน่วยงานสนับสนุน  แนวการสอน งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ บทความ สื่่อ (เพลง เกม นิทาน แบบฝึกหัด ของเล่น)

การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำวิธีการสร้างบล็อกไปปรับใช้ได้กับทุกวิชา และการถามคำถามที่กระตุ้นต่อพัฒนาการของเด็ก
ซึ้งเราได้นำไปใช้จริงในการฝึกสอนเด็กเพื่อให้เกิดการเรียนรู้สิ่่งใหม่ๆได้ดี


ประเมินผล

ประเมินตนเอง     วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์  แต่งกายยังไม่เรียบร้อย  กระโปรง รองเท้าผิดระเบียบ

ประเมินเพื่อน       วันนี้เพื่อนในห้องยังแต่งกายไม่ถูกระเบียบเพราะเป็นสัปดาห์แรก พูดคุยกันบ้าง

ประเมินอาจารย์    อาจารย์ให้ข้อคิดเทคนิควิธีการสอนของวิชานี้ และยังบอกการทำบล็อกอีกทำให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น