.

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่  4

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  9  กันยายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้่ก่อนนำเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้เปิดบล็อกเกอร์ของเพื่อนแต่ละคนและบอกข้อเสนอแนะของแต่ละคน มีการนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน 5 คน

การนำเสนอบทความมีดังนี้

คนที่  1   Darawan Glomjai    เรื่องจุดประเด็นเด็กคิดนอกกรอบ กิจกรรมสนุกกับของเล่นวิทยาศาตร์

คนที่  2  Patintida chlamboon   เรื่องทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์

คนที่  3  jirawan Jannongwa    เรื่องวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สำหรับอย่างไรกับอนาคตของชาติ

คนที่  4  Umaporn Porkkati    เรื่องเมื่อลูกน้อยเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์จากดนตรี

คนที่  5  Jarunan Jankan    เรื่องการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

    วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง  ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

วิทยาศาสตร์ หมายถึง การสืบค้นการจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมีทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ มีการทดลองเพื่อค้นหาความจริง

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลง (Change) 
2. ความแตกต่าง (Diffetence) 
3. การปรับตัว (Adapting)
5. ความสมดุล (Equilibrium)
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อมูล
ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
1. ตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของเด็ก
2. พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. เสริมสร้างประสบการณ์
4. พัฒนาความคิดรวบยอด
5. พัฒนาทักษะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
6. สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง


ขั้นตอนการสอน
   อาจารย์สอนโดยมีการถาม ตอบกับนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตนเอง
มีการพูดคุยอภิปรายระหว่างครูและนักศึกษา  มีการใช้คำถามปลายเปิดแก่นักศึกษา

การนำไปประยุกต์ใช้
 เราสามารถนำเทคนิคการสอนของอาจารย์ไปใช้สอนได้จริงๆในอานาคต  การเรียนรู้เรื่องทักษะวิทยาศาสตร์นำไปบูรณาการกับทุกวิชาได้จริง สามารถนำไปจัดแผนการเรียนการสอนสำหรับเด็กได้

ประเมิน

ประเมินตนเอง  :  มีการเสนอความคิดเห็นแก่อาจารย์  ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนมีความสนใจในการเรียน ให้ความร่วมมือกับอาจารย์ผู้สอน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ไม่น่าเบื่อ ทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น