.

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 3



บันทึกอนุทินครั้งที่  3

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  2  กันยายน  พ.ศ. 2557
เวลา  8.30 -  12.20 น.




ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้อาจารย์เปิดบล็อกของเพื่อนให้ดูก่อนสอน มีการแนะนำวิธีการตกแต่ง การเสริมบทความลงบล็อกของแต่ละคน และก่อนจะเข้าสู่บทเรียนมีการนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน โดยเริ่มจากเลขที่ 1 
ให้นำเสนออาทิตย์ละ  5 คน

การนำเสนอบทความ 5 คน


คนที่ 1  Kamonwan Nakwichen  เรื่องวิทยาศาสตร์กับการทดลอง 

คนที่ 2  Sirada Sakbud     เรื่องภาระกิจตามหาใบ้ไม้ 

คนที่ 3  Siripron Pudlom   เรื่องเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการฉบับเด็กชายขอบ


คนที่ 4   Siriwan Krudnaim   เรื่องการแยกเมล็ดพืช 


คนที่ 5  Kwanruthai Yaisuk   เรื่องเป่าลูกโป่ง 


ขั้นการสอน

   วันนี้อาจารย์สอนเรื่องธรรมชาติของเด็ก
- พอใจคนที่ตามใจ
- มีช่วงความสนใจสั้น 8-10 นาที
- สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
- อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
- ชอบถาม ''ทำไม" ตลอดเวลา
- ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
- ช่วยตนเองได้


การจัดกิจกรรมพัฒนาเด็ก
1. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. จัดให้เด็กได้ฝึกทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
3. จัดกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
4. จัดให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม


นักทฤษฎี

กีเซล (Gesell) เชื่อว่า • พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ

ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่า  • ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็ก ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก

อีริคสัน (Erikson) เชื่อว่า  • ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น

เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่า • พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
ดิวอี้ (Dewey) เชื่อว่า   • เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ

สกินเนอร์ (Skinner)  เชื่อว่า  • ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป

เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi)  เชื่อว่า  • ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา

เฟรอเบล (Froeble) เชื่อว่า   • ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี

เอลคายน์ (Elkind) เชื่อว่า • การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก


กิจกรรม
   หลังจากที่อาจารย์สอนเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนเขียนสรุปแผนผังความคิดได้รับในวันนี้ส่งท้ายคาบ


การนำไปประยุกต์ใช้
   เราสามารถนำการสอนเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆไปปรับใช้ในการจัดการวางแผนในการจัดกิจกรรมได้จริง โดยนำสิ่งของรอบตัวมาสอนเด็กได้และเรายังสามารถนำไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นๆได้อีกด้วย


ประเมิน


ประเมินตนเอง:  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอนได้ดี


ประเมินเพื่อน : การอ่านบทความของเพื่อนยังหามาไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีสื่อในการสอนสามารถทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น