.

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่  16

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 2 ธันวาคม  พ.ศ. 2557




กิจกรรมที่ 1
     อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่ออกมานำให้ออกมานำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูให้ครบทุกคน
โดยเพื่อนมาสรุปวิจัยและโทรทัศน์ครูให้เพื่อนฟัง อาจารย์ชี้แนะให้คำอธิบายในสิ่งที่นำมา

กิจกรรมที่ 2
   อาจารย์ให้ทำแผ่นพับหน่วยของตนเอง กลุ่มดิฉันทำแผ่นพับหน่วย "กล้วย"
เป็นการทำแผ่นพับที่ผู้ปกครองสามารถมีส่วมร่วมกับการเรียนรู้ของเด็กได้ โรงเรียนและผู้ปกครองได้รู้ถึงการเรียนของเด็กว่าเรื่องหน่วยอะไร และผู้ปกครองสามารถนำสิ่งของมาช่วยเป็นสื่ิอในการเรียนของเด็กได้ จะช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่าย






*วันนี้เป็นการเรียนสัปดาห์สุดท้ายของภาคเรียนที่  1*


การนำไปประยุกต์ใช้ 
   นำเอาวิธีการทำแผ่นพับไปใช้เป็นสื่อในการเรียนได้และยังสามารถทำการเชื่อมโรงความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้ปกครอง  ส่วนการสรุปงานวิจัยและโทรทัศน์ครูของเพื่อนนั่นทำให้เราเข้าใจง่ายมากขึ้น
สามารถนำไปต่อยอดกิจกรรมต่างๆได้อย่างถูกวิธี

ประเมินตนเอง  : วันนี้เข้าเรียนสาย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอได้ดี 

ประเมินเพื่อน  :  เพื่อนนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูได้เข้าใจครบทุกคน  คุยกันบ้าง 

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ให้คำแนะนำข้อเสนอที่ดีแก่นักศึกษา ทำให้เข้าใจในการเรื่องมากขึ้น อาจารย์เน้นย้ำเรื่องการเขียนแผนเสมอ เพื่อในการไปฝึกสอนจะได้เขียนแผนได้ถูกต้อง




สรุปบทความเรื่อง "หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ?"

                                        จำเป็น เพราะหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
     ขณะนี้ สสวท. ได้ทำกรอบมาตรฐานหลักสูตรผ่านทุกกระบวนการที่สำคัญหมดแล้ว ก็คือผ่าน การประชาพิจารณ์ การนำไปทดลองใช้ การปรับแล้วนำไปทดลอง และวิจัยผลการใช้ ในส่วนของการทดลองใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย สสวท. ได้เชิญชวนให้โรงเรียนต่าง ๆ อาสาสมัครมาเป็นโรงเรียนทดลองใช้กรอบมาตรฐานหลักสูตร ฯ ได้โรงเรียนทั่วประเทศ 23 โรง จากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอีสาน และทดลองใช้ในปี 2551
    พบว่ากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยนั้นตอบโจทย์ครูได้ว่า ในการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ ครูจะสอนอะไร จะสอนแค่ไหน จะสอนอย่างไร และจะใช้สื่อรอบ ๆ ตัวเด็กนั้นมาเป็นสื่อในการเรียนรู้อย่างไร เพราะฉะนั้นคุณครูมีแนวทางสามารถที่จะจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยได้แน่นอน
     ทุกประเทศในโลกจะสอนปฐมวัยในเชิงบูรณาการ ก็คือจะบูรณาการทุกวิชาไว้ด้วยกัน เพราะถือว่าเด็กจะต้องพัฒนาเป็นองค์รวม แต่การที่ครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมนั้น จะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ตั้งในของแต่ละสาระ เช่น คณิตศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน วิทยาศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน ครูก็จะยึดเอากรอบมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรบูรณาการปฐมวัยของตัวเอง ทุกประเทศจะเป็นแบบนี้ รวมทั้งประเทศเราด้วย” อ. ชุติมากล่าวทิ้งท้าย

ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/38811

สรุปโทรทัศน์ครู เรื่อง"ฝึกเขียนเรียงความจากการสังเกต"

                                    ครูให้เด็กฝึกเขียนเรียงความ โดยนำเอาวิทยาศาสตร์มาช่วยในเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูล เด็กได้สังเกตได้ปฏิบัติจริงและมีการใช้กระบวนการกลุ่มในการลงความเห็น เด็กได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันและยังมีความสนุกสนานในการเห็นภาพของสิ่งที่ครูนำมา และขยายความคิดของเด็กได้ออกมาทางภาษาของเรียงความได้เป็นอย่างดี ครูได้ให้เด็กคนแรกออกมาใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้ล่วงคล้ำดูในถุงว่าสิ่งนั้นคืออะไร ให้เด็กได้รู้ว่าการสัมผัสนั้นสามารถให้รายละเอียดของข้อมูลได้  คนที่สองครูใช้ทักษะการชิมเพื่อให้เด็กรู้ว่าทักษะการชิมก็สามารถให้รายละเอียดที่แตกต่างของข้อมูลได้จริง   ครูนำผักผลไม้สิ่งของมาใส่ตะกร้าและให้เด็กออกมาหยิบจับ ได้สัมผัสดม ชิม เพื่อให้เด็กได้เกิดความสงสัยและหาคำตอบได้ด้วยตนเองและนำไปเขียนในใบสังเกต บันทึกข้อมูลของเด็ก   การสอนเขียนเรียงความครูมีภาพจิ๊กซอร์ให้เด็กช่วยกันต่ออย่างสมบูรณ์เป็นกลุ่ม ให้เด็กได้ใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่ ครูได้ให้เด็กใช้แผนภาพความคิดก่อนนำสู่เนื้อหา คำนำของเรียงความ
สรุปของเรียงความต้องเป็นการโน้มน้าวใจ และให้เด็กเขียนเรียงความเป็นรายบุคคลซึ้งจะง่ายต่อการเขียนเพราะเด็กนำความคิดกลุ่มมาใช้เขียนรายบุลคล



สรุปงานวิจัย  "การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"

                        การวิจัยครั้งนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ กับเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้

กลุ่มตัวอย่าง
    เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏเชียงใหม่  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  จำนวน 30 คน  โดยการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง  15  คน  กลุ่มควบคุม  15  คน  กลุ่มทดลองได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมข่างไม้  ส่วนกลุ่มควบคุุมได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างๆม้

การทดลอง
    ใช้แบบแผนการวิจัยของ  Randomized  Control  Pretest-Posttest Design ใช้เวลาทดลอง 4 สัปดาห์ครึ่ง สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 50 นาที  รวมจำนวน 18 ครั้ง

ตัวแปร
ตัวแปรต้น  :  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ตัวแปรตาม  :  การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะ


เครื่องมือที่ใช้วิจัย
    แผนการจัดกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้  แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภท

สติถิที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
    t-test for Independent Samples

ผลการวิจัย
     เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภทสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างๆม้ อย่างมีนัยสำคัญทางสติถิระดับ.01




วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่  15

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  25 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557



*สัปดาห์นีิ้  ดิฉันขาดเรียน*

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่  14

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่  19 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


กิจกรรมวันนี้
    อาจารย์มอบหมายงานให้เพื่อนคนที่ยังไม่ได้อ่านบทความ อาทิตย์หน้าให้นำวิจัยและโทรทัศน์ครูมาสรุปให้เพื่อนฟังหน้าห้อง   วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ


กิจกรรมที่ 1  การทำขนมวาฟเฟิล 


อุปกรณ์
1.แป้งสาลี
2.ไข่ไก่
3.ชีส
4.เนย
5.ที่ตี ที่ตวง จาน ถ้วย
6.แก้ว
7.นม  น้ำ
8.เครื่องอบวาฟเฟิล



วิธีทำ
1.เทนมลงในแป้งสาลี
2.ตีนมและแป้งให้เข้ากัน
3.เทไข่ไก่ลงไปตามด้วยน้ำและใส่ชีสลงไปตีให้เข้ากัน
4.ตักใส่ถ้วยแบ่งให้เท่าๆกับจำนวนเพื่อน
5.ทาเนยลงบนเครื่องอบวาฟเฟิล
6.เทแป้งสาลีลงบนเครื่องอบ จากนั่นรอฟูแล้วนำมาทานได้



กิจกรรมที่  2  เพื่อนนำเสนอแผนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

หน่วย สับปะรด 

หน่วย ดิน

การนำไปประยุกต์ใช้
    นำเอาวิธีการทำวาฟเฟิลไปใช้เด็กได้จริง ในเรื่องการทำ Cookking  เพราะเป็นการทำที่ง่าย อุปกรณ์สามารถหาได้ตามร้านทั่วไป เป็นอาหารที่เด็กเคยรับประทานกันอยู่บ่อยๆ ควรสอนถึงโทษด้วยว่าทานมากจะทำให้อ้วน 

ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา ฟังอาจารย์สอน ช่วยเพื่อนทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีการช่วยเหลือกันในกลุ่มได้ดี มีความสามัคดีกัน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาอยากเรียนมากขึ้น มีการทำกิจกรรมของจริงในห้องเรียน ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติและให้คำแนะนำที่ดีแก่นักศึกษา



วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่  13

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  11 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.



กิจกรรมในวันนี้
   อาจารย์ให้เพื่อนออกมานำเสนอแผนกลุ่มให้ครบทุกกลุ่ม  


กลุ่มแรก หน่วย "สับปะรด"   บอกประโยชน์และโทษของสับปะรด เพื่อนทำน้ำสับปะรด



กลุ่มสอง  หน่วย "ส้ม" บอกชนิดของส้มว่ามีอะไรบ้าง ? การนับจำนวนส้มแต่ละขนิด



กลุ่มสาม  หน่วย "ทุเรียน" สอนชนิดของทุเรียน การเปรียบเทียบแต่ละชนิดของทุเรียน



กลุ่มสี่  หน่วย"มด" มดมีกี่ชนิด การเปรียบเทียบความแตกต่างมดแดงและมดดำ



กลุ่มห้า  หน่วย "ดิน" ดินมีกี่ชนิด ความแตกต่างของแต่ละชนิดเป็นอย่างไร





กลุ่มหก  หน่วย "น้่ำ" ทำการทดลองกับน้ำว่าทำอะไรได้บ้าง



กิจกรรมที่ 2  การทำไข่ทาโกยากิ

อุปกรณ์
1.ไข่ไก่  
2.น้ำปลา ซอส
3.แครอท
4.ปูอัด
5.หัวหอม
6.กระดาษรอง
7.มีด
8.ข้าว
9.กรรไกร
10ช้อน-ส้อม
11.ถ้วย

ขั้นตอนการทำ
  แบ่งกลุ่มละ 5 คน และนั่งเป็นฐาน แต่ละฐานจะต้องมีหน้าที่แตกต่างกัน เช่น ฐานที่ 1 ทำหน้าที่ตอกไข่  ส่งต่อให้ฐานที่ 2 เป็นคนปรุงใส่ผัก ซอสลงไป  ฐานที่ 3 หั่นผัก  ฐานที่ 4 ตัดกระดาษพร้อมเตรียมถ้วยให้เพื่อน  ฐานที่ 6 นำไข่ใส่หลุมแล้วดูว่าสุกหรือยัง จากนั่นนำขึ้นมาใส่ถ้วย





การนำไปประยุกต์ใช้
      ดูเทคนิควิธีการสอนของเพื่อนแต่ละกลุ่มไปใช้สอนเด็กได้จริง เพราะแต่ละกลุ่มมีการสอนที่หลากหลายความน่าสนใจของเพื่อนที่ต่างกัน ซึ่่งอาจารย์คอยชี้แนะอยู่ตลอดเวลา   เรื่องการทำไข่ทาโกยากิ เป็นการทำที่ไม่ยากเป็นการนำไข่จากที่เราทานปกติมาทำในรูปแบบทาโกยากิ ซึ่งเด็กๆก็เคยรับประทานในแบบทาโกธรรมดา แต่ทาโกไข่ที่อาจารย์สอนทำนั่นมีทั้งประโยชน์และเด็กยังนำไปกลับไปผู้ปกครองสอนทำได้อีกด้วย

ประเมินตนเอง  :  มีความสนใจในการทำไข่ทาโกยากิ ช่วยเพื่อนใส่เครื่องปรุง ให้ความร่วมมือได้ดี

ประเมินเพื่อน  :  เพ่ื่อนยังนำเสนอแผนได้ไม่มี อาจารย์ตักเตือนและให้มานำเสนอใหม่ ช่วยกันทำกิจกรรมไข่ทาโกยากิได้ดีทุกคน

ประเพื่อนอาจารย์  :  อาจารย์มีวิธีการสอนที่น่าสนใจ มีกิจกรรมเสริมมาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ ทำให้นำเอาไปใช้สอนเด็กได้จริงในอนาคต  ให้คำปรึกษา แนะนำกลุ่มเพื่อนที่สอนแผนได้ดี






วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่  12

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  4 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.



กิจกรรมวันนี้
  อาจารย์ให้นำเสนอแผนการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่ม แต่ว่าทุกกลุ่มยังทำมาไม่ดี อาจารย์จึงสอนเขียนตั้งแต่เริ่มต้น โดยให้ลองเรียงหัวข้อใหม่เริ่มจาก กรอบมาตรฐาน  สาระที่ควรรู้  แนวคิด  เนื้อหา 
ประสบการณ์สำคัญ  บูรณาการ  กิจกรรมหลัก  วัตถุประสงค์
  จากนั้นอาจารย์ให้เพื่อนออกมานำเสนอแผนกลุ่ม  กลุ่มของฉันได้นำเสนอในวันนี้ คือหน่วย กล้วย

กลุ่มที่ 1 หน่วย ไข่

เพื่อนสาธิตวิธีการทอดไข่เจียว



กลุ่มที่ 2  หน่วย ข้าว 

เพื่อนสาธิตการทำซูชิ


กลุ่มที่ 3 หน่วย กล้วย

สาธิตการทำกล้วยทอด


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      เรานำสิ่งที่เพื่อนสอนไปใช้สอนเด็กได้จริงแต่บางอย่างเราควรดัดแปลงให้เหมาะสม เช่นการทอดไข่ของเพื่อนควรใส่ผักให้เด็กได้ทาน การทำซูชิก็ต้องเพียงพอกับเด็ก การทำกล้วยทอดยากเกินไปเพราะใช้เวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นทำกล้วยตากหรือกล้วยบวชชีเผื่อความสะดวกและไม่อันตรายต่อเด็กในการทำกิจกรรม


ประเมินตนเอง  :  เตรียมความพร้อมในการสิ่งของมานำเสนอแผนให้เพื่อนให้ดู  เข้าห้องเรียนสาย

ประเมินเพื่อน :  เพืื่อนบางกลุ่มยังไม่มีความพร้อมในการนำเสนอแผน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะ ข้อปรับปรุงดีมาก นำไปแก้ไขใช้ได้จริง

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่  11

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  28  ตุลาคม  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.


กิจกรรมวันนี้  อาจารย์มีการนำสิ่งของมาให้นักศึกษาได้ทดลองกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

1. เทียน  ไม้ขีดไฟ  แก้วน้ำ  ถ้วย  
-ครูจะจุดเทียน แล้วนำแก้วน้ำมาครอบเทียนไว้ ผลสรุปว่าเทียนดับ เนื่องจากอากาศที่อยู่ในแก้วไม่มีการถ่ายเทจึงทำให้เทียนดับ






   








*อ้างอิงรูปจากน.ส.อุมาพร ปกติ  เลขที่ 8

2. การพับกระดาษ
- นำกระดาษ  A4 มาแบ่งเป็น 4 ส่วน จากนั่นพับกระดาษเป็นสีเหลี่ยมสีทบและฉีกให้โค้งเป็นรูปดอกไม้
- จากนั่นทำไปใส่ในน้ำกระดาษก็จะคลี่ออกเป็นรูปดอกไม้
เนื่องจากน้ำซึมเข้าไปในกระดาษ กระดาษจึงมีการคลายรูปออกมาเป็นรูปที่เราฉีกไว้ในตอนแรก

































3. นำขวดน้ำมาเจาะรู เทน้ำลงไปในขวด ถ้าเราปิดฝาน้ำก็จะหยุดไหลแต่ถ้าเราเปิดฝาน้ำในขวดก็จะไหลออกมา

















4. ดิินน้ำมัน นำดินน้ำมันมาใส่ในน้ำถ้าเราปั้นเป็นก้อน ดินน้ำมันก็จะจม แต่ถ้าเราปั้นให้แบนและบางมีขอบกั้น ดินน้ำมันจะลอยน้ำได้ 1-2 นาที

















5. การนำน้ำใส่ขวดและมีสายยางต่อ ถ้าเราวางในระดับที่เท่ากันน้ำก็จะไม่พุงออกมา แต่ถ้าเราวางในระดับที่ต่ำกว่า น้ำก็จะพุงออกมาลักษณะนี้คล้ายๆกับน้ำพุ



6. การเทวัตถุลงไปในน้ำ ก่อนเทวัตถุจะมีขนาดเท่าเดิมและจมติดแก้ว
พอเทน้ำลงไปวัตุจะเกินการลอยดูเหมือนมีขนาดใหญ่ขึ้น


















   หลังจากเสร็จการทดลองอาจารย์ได้สรุปเหตุและผลว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้? และสอนเขียนแผนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทั้งหมด

ประเมินเพื่อน  :  เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกันทุกคน  คุยกันเล็กน้อย

ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา  ใช้คำถามที่กระตุ้นความคิดแก่นักศึกษาได้คิดเอง มีเทคนิควิธีในการสอนที่หลากหลาย ทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่  10

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  21 ตุลาคม  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.

กิจกรรมวันนี้
 อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ออกมานำเสนอให้ครบ  วันนี้ดิฉันนำเสนอ ''ขวดผิวปาก''
หลักการทางวิทยาศาสตร์ของการเกิดเสียงของขวดผิวปาก เป็นหลักการเดียวกันกับการเกิดเสียงของเครื่องเป่า (ขลุ่ยต่างๆ) เมื่อลมพัดผ่านช่องเปิดของขวดพลาสติก จะทำให้ผนังขวดเกิดการสั่น เสียงที่เกิดขึ้น จะเกิดการกำทอนภายในขวดพลาสติก ส่งผลให้เสียงดังเพิ่มขึ้น 
ขนาดช่องเปิดมีผลอย่างไรครับ ? 
ช่องเปิดขนาดใหญ่จะให้เสียงที่ต่ำกว่าช่องเปิดขนาดเล็ก เนื่องจากผนังของขวดที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ จะสั่นด้วยความถี่ที่ต่ำกว่านั่นเอง
ทำได้แล้ว จะทำอะไรต่อดีครับ ? 
ในต่างประเทศ มีคนทำขวดผิวปากจำนวนมาก ไปติดไว้ในทุ่งโล่ง เมื่อมีลมพัด ขวดจะส่งเสียงประสานกันเซ็งแซ่เลยทีเดียว
 ขั้นต่อไป ให้น้องหาขวดขนาดและรูปร่างเดียวกัน ทดสอบเจาะช่องขนาดต่างๆ เทียบเสียงที่เกิดขึ้นกับโน้ตมาตรฐาน เมื่อทราบความสัมพันธ์ของช่องขนาดต่างๆ กับโน้ต เราก็สามารถสร้างเสียงประสานที่ไพเราะได้จากขวดหลายใบ


จากนั่นอาจารย์สอนเขียนแผนการจัดประสบการณ์ กลุ่มของดิฉันหน่วยเรื่อง ''กล้วย''





















เทคนิคการสอนของอาจารย์
   อาจารย์บอกข้อแก้ไข ข้อที่ควรนำไปปรับปรุงในการทำสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละคน  อาจารย์สอนเขียนแผนทำให้เข้าใจในการเขียนแผนมากยิ่งขึ้น มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจน

การนำไปประยุกต์
 นำเอาสิ่งของเหลือใช้มาให้เด็กได้ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ได้ สอนเด็กได้จริงให้เด็กได้เรียนอยู่อย่างมีเหตุและผล  การเขียนแผนการสอนนำไปบูรณาการณ์ได้กับทุกวิชา 

ประเมินตนเอง :  ต้องไปหาข้อมูลในสิ่งประดิษฐ์เพิ่มยังไม่ชัดเจน  เข้าห้องเรียนตรงเวลา  เป็นผู้ฟังที่ดี

ประเมินเพื่อน : นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ครบทุกคน  คุยกันจนอาจารย์ต้องติ

ประเพื่อนอาจารย์ : ให้ข้อเสนอแนะที่่ดีแก่นักศึกษา นำไปต่อยอดในครั้งต่อไปได้

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่  9

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  14 ตุลาคม  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.


กิจกรรมวันนี้
    อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ของแต่ละคน  วันนี้ดิฉันไม่ได้เตรียมสิ่งประดิษฐ์มา จึงดูและเห็นข้อบกพร่องของเพื่อน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและข้อแก้ไขของแต่ละคน

สิ่งประดิษฐ์ของเพื่อน










เทคนิคการสอน
  อาจารย์มีการร่วมสนทนากับนักศึกษามีการถามคำถามให้นักศึกษาได้แสดงความคิดถึงแม้จะถูกหรือผิด อาจารย์ก็จะไม่ปิดกั้นความคิด มีข้อเสนอแนะดีๆบอกนักศึกษาให้ไปแก้ไขปรับปรุงในข้อบกพร่องของตนเอง


ประเมินตนเอง  :  ไม่มีความรับผิดชอบไม่ได้นำสื่อมา  ตอบคำถามในขณะที่เพือนให้ร่วมทำกิจกรรม  ฟังอาจารย์สอนอย่างตั้งใจ  เข้าเรียนตรงเวลา

ประเมินเพื่อน  :  ส่วนน้อยที่ไม่ได้เตรียมสิ่งประดิษฐ์มา  ให้ความร่วมมือในการเป็นผู้ฟังที่ดี

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  มีการบอกข้อแก้ไขสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละคน

สัปดาห์ที่ 8

นทึกอนุทินครั้งที่  8

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.



* ไม่มีการเรียนการสอน  สอบกลางภาค *


วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 7

บันทึกอนุทินครั้งที่  7

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  30  กันยายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.


กิจกรรมวันนี้ 

     กิจกรรมที่ 1  ลูกยาง
อุปกรณ์
1.กระดาษหน้าปก (paper)
2.กรรไกร (Scissors)
3.คลิปหนีบกระดาษ (paperclip)

ขั้นตอนการประดิษฐ์
1.นำกระดาษที่ได้มาพับครึ่งและนำกรรไกรมาตัดเป็นแนวตรงยาวให้ชิดกับรอยพับครึ่งของกระดาษ
2.พับส่วนบนของกระดาษเข้ามา 1 เซนติเมตร
3.นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ด้านที่พับส่วนบนเข้ามา จากนั่นกางปีกส่วนที่โดนตัดออกไปคนละข้างกัน
4.นำมาทดลองเล่น โดนการโยนและทำให้กระดาษหมุน

    อาจารย์ให้เพื่อนออกไปสาทิตการโยนของแต่ละคนให้ดู จะสังเกตเห็นได้ว่าการหมุนของกระดาษแต่ละคนลงมาสู่พื้่นไม่เหมือนกัน บางคนแกว่งลงอย่างสวย บางคนแกว่งน้อยไม่หมุนบ้างก็มี

*อ้างอิงภาพจากนางสาวชนิดา  บุญนาโค  เลขที่ 19  


กิจกรรมที่  2  แกนกระดาษทิชชู
อุปกรณ์
1.แกนกระดาษทิชชู
2.กระดาษตัดเป็นรูปวงกลม
3.ไหมพรม
4.กาว
5.กรรไกร
6.สี
7.ที่หนีบกระดาษเป็นรู

ขั้นตอนการประดิษฐ์
1.นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดครึ่งแล้วนำที่หนีบกระดาษมาเจาะรูสองข้างให้เท่ากัน จะได้ออกมา 4 รู
2.นำกระดาษวงกลมมาแปะตรงแกนกระดาษทิชชู วาดรูปลงไปให้สวยงาม
3.นำไหมพรหมมารอยกับแกนกระดาษทิชชูให้สามารถห้อยคอเราได้
4.จากนั่นก็ลองเล่น ทำยังไงให้แกนกระดาษทิชชูเลื่อนขึ้น-ลงไปมาได้





ยังคงมีการสรุปบทความจากเพื่อนทั้ง 5 คน  สับดาห์นี้เลขที่ 16-20 

เทคนิคการสอนของอาจารย์
   อาจาารย์ให้นักศึกษาใช้ความคิดอย่างอิสระ ให้นักศึกษาหาวิธีการเล่นเองว่าจะทำอย่างไรให้สิ่งของเหล่านี้เกิดการเคลื่อนไหวได้เอง ให้เกิดการสังเกต ลงมือประดิษฐ์เอง อาจารย์จะคอยช่วยเหลืออยู่ห่างๆสงสัยหรือไม่เข้าใจก็ถาม แต่จะไม่บอกวิธีการเล่นให้นักศึกษาคิดและค้นคว้าด้วยตนเอง


การนำไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำเอาสิ่งที่อาจารย์ให้ทำนี้ไปใช้สอนเด็กปฐมวัยได้จริง เพราะเป็นกิจกรรมง่ายๆไม่ยากแก่เด็ก
และเป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากวัสดุเหลือใช้เป็นของใช้ภายในบ้านหาง่ายไม่สิ้นเปลือง  เด็กจะได้คิดและรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เด็กมีความสุขกับการลงมือปฏิบัติด้วยตัวของเขาเอง


ประเมิน

ประเมินตนเอง :  เข้าสาย  ออกไปทำกิจกรรมให้เพื่อนดูหน้าห้อง  ฟังอาจารย์สอนอย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนให้ความร่วมมือในการออกไปทำกิจกรรมทุกคน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีสื่อที่หลากหลายทำให้นักศึกษาสนใจที่จะเรียนมากขึ้น  

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่  6

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  23  กันยายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้่อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องทฤษฏีการสร้างความรู้ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยอย่างไร? มีการนำเสนอบทความ 5 คนเหมือนเดิม 


กิจกรรมที่ทำ
   อาจารย์มีกระดาษมาให้เป็นรูปนกกับผีเสื้อ ให้นักศึกษาเลือกมา 1 รูป จากนั่นตัดตามภาพ และนำเศษกระดาษที่เหลือ มาดัดแปลงทำเป็นรูปที่สอดคล้องกัน หมุนได้สองด้าน









   อาจารย์มีตัวอย่างการสังเกตของแสง โดยทำจากแกนกระดาษทิชชู มาให้นักศึกษาได้ดู ซึ่งเป็นสิ่งของประดิษฐ์ที่นักศึกษาสามารถทำขึ้นเองได้และให้เด็กปฐมวัยทำได้อีกด้วย




อาจารย์ให้ทำแผนผังความคิดกลุ่มดิฉันทำเรื่อง ''กล้วย''




การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำเอาสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์นำมาให้ทำและให้ดูไปใช้สอนกับเด็กได้จริง ให้เด็กได้ประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้และยังเป็นการประดิษฐ์ง่ายๆที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำจริง เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการลงมือทำจริง 



ประเมินตนเอง :  วันนี้แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์  ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ  มีการแสดงความคิดเห็นอภิปรายกับอาจารย์


ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนเข้าเรียนตรงเวลา   ทำงานที่รับมอบหมายได้อย่างดี  


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีสื่อมาให้นักศึกษาได้ดูและได้ทำจริง  มีการสอดแทรกความรู้ทุกครั้ง มีการใช้คำถามกับนักศึกษาให้นักศึกษารู้จักคิดและตอบคำถามเป็น  


                                                           




วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่  5

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  16  กันยายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.



ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรม ให้นักศึกษาดู CD เรื่อง ความลับของแสง  และสรุปเนื้อหาที่ได้รับ
  

ความลับของแสง

      ถ้าไม่มีแสงคนเราก็จะมองอะไรไม่เห็น ในเวลาไฟดับจะสังเกตุได้ว่าสายตาของเราจะค่อยๆปรับแสงให้เข้ากับความมืด พอไฟมาตาจะยังคงพร่ามัวเราต้องรอให้ตาหรับสมดุลก่อน  จากนั่นจะมองได้ชัดเอง
แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง แสงเคลื่อนที่ได้เร็วมาก 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที

การทดลอง
     นำกล่องมาเจาะรูและนำวัตถุใส่ลงไปในกล่อง จากนั่นผิดฝากล่อง เราสังเกตว่าในกล่องในมืดมากเราไม่สามารถมองเห็นวัตถุนั่นได้  จากนั่นเราเจาะฝากล่องอีก 1 รู  ปิดฝากล่อง และนำไฟฉายมาส่องในรูปให้กระทบกับวัตถุจะเห็นได้ว่าเราสามารถมองเห็นวัตถุนั่นได้อย่างชัดเจน  สรุปได้ว่า แสงต้องมีการสะท้อนของวัตถุมายังสายตาของเราจึงทำให้เรามองเห็นของสิ่งนั่น

   วัตถุต่างๆในโลกมี 3 ชนิด  วัตถุโปร่งแสง  วัตถุโปร่งใส  วัตถุทึบแสง  

การเคลื่อนที่ของแสงที่เป็นเส้นตรงเรานำมาใช้ประโยน์ได้ การทำกล้องฉายภาพแบบต่างๆ เช่น 
กล้องรูเข็ม  การสะท้อนของแสงมีการใช้ไฟฉายกับกระจก  เงาของเราในกระจกเกิดจากการสะท้อนของแสง ต่อมามีการทดลอง

   กล้องคาไลโดสโคป (Kaleidoscope) อุปกรณ์คือกระจก 3 บานมาประกบกันให้เป็นกระบอกทรงสามเหลี่ยม แล้วเห็นภาพที่เยอะแยะ  กล้องคาไลโดสโคปเกิดขึ้นเยอะแยะเพราะใช้หลักการสะท้อนของแสงและมุมประกบของกระจก เมื่อแสงตกกระทบในกระบอกทรงสามเหลี่ยม มันก็จะสะท้อนไปมาจึงทำให้เกิดภาพมากมาย

   การหักเหของแสง (Refraction of light) แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลิื่อนที่เพราะแสงเดินผ่านวัตถุตัวกลาง เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าในอากาศเส้นของแสงก็จะหักเหไป
   ตอนฝนตกเราก็จะเห็นรุ้งกินน้ำเพราะรุ้งกินน้ำเกิดจากการหักเหของแสง

เงา (Shadow)เป็นสิ่งที่คู่กันกับแสงเสมอ เงาเกิดขึ้นได้เพราะแสง เงาของวัตถุจะเกิดจากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ
 

การนำไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำการทดลองจากการดูวีดีโอนี้ไปใช้สอนเด็กได้จริง ซึ้งการทดลองสามารถทำได้จริง เด็กๆจะยิ่งอยากรู้และเข้าใจในเรื่องของแสงมากกว่าการที่เราไปนั่งสอนเป็นตัวหนังสือ

ประเมิน

ประเมินตนเอง  :  ได้รับงานที่อาจารย์มอบหมายให้และตั้งใจทำอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน  :  เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สั่งงานและกลับไปทำงานที่ได้รับมอบหมายกันทุกคน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์สั่งงานไว้ให้ทำเพราะอาจารย์ติดธุระ

สัปดาห์ที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่  4

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  9  กันยายน  พ.ศ. 2557

เวลา  8.30 -  12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้่ก่อนนำเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้เปิดบล็อกเกอร์ของเพื่อนแต่ละคนและบอกข้อเสนอแนะของแต่ละคน มีการนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน 5 คน

การนำเสนอบทความมีดังนี้

คนที่  1   Darawan Glomjai    เรื่องจุดประเด็นเด็กคิดนอกกรอบ กิจกรรมสนุกกับของเล่นวิทยาศาตร์

คนที่  2  Patintida chlamboon   เรื่องทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์

คนที่  3  jirawan Jannongwa    เรื่องวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สำหรับอย่างไรกับอนาคตของชาติ

คนที่  4  Umaporn Porkkati    เรื่องเมื่อลูกน้อยเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์จากดนตรี

คนที่  5  Jarunan Jankan    เรื่องการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

    วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง  ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

วิทยาศาสตร์ หมายถึง การสืบค้นการจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมีทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ มีการทดลองเพื่อค้นหาความจริง

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลง (Change) 
2. ความแตกต่าง (Diffetence) 
3. การปรับตัว (Adapting)
5. ความสมดุล (Equilibrium)
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อมูล
ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
1. ตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของเด็ก
2. พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. เสริมสร้างประสบการณ์
4. พัฒนาความคิดรวบยอด
5. พัฒนาทักษะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
6. สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง


ขั้นตอนการสอน
   อาจารย์สอนโดยมีการถาม ตอบกับนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดของตนเอง
มีการพูดคุยอภิปรายระหว่างครูและนักศึกษา  มีการใช้คำถามปลายเปิดแก่นักศึกษา

การนำไปประยุกต์ใช้
 เราสามารถนำเทคนิคการสอนของอาจารย์ไปใช้สอนได้จริงๆในอานาคต  การเรียนรู้เรื่องทักษะวิทยาศาสตร์นำไปบูรณาการกับทุกวิชาได้จริง สามารถนำไปจัดแผนการเรียนการสอนสำหรับเด็กได้

ประเมิน

ประเมินตนเอง  :  มีการเสนอความคิดเห็นแก่อาจารย์  ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนมีความสนใจในการเรียน ให้ความร่วมมือกับอาจารย์ผู้สอน

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ไม่น่าเบื่อ ทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 3



บันทึกอนุทินครั้งที่  3

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  2  กันยายน  พ.ศ. 2557
เวลา  8.30 -  12.20 น.




ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้อาจารย์เปิดบล็อกของเพื่อนให้ดูก่อนสอน มีการแนะนำวิธีการตกแต่ง การเสริมบทความลงบล็อกของแต่ละคน และก่อนจะเข้าสู่บทเรียนมีการนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน โดยเริ่มจากเลขที่ 1 
ให้นำเสนออาทิตย์ละ  5 คน

การนำเสนอบทความ 5 คน


คนที่ 1  Kamonwan Nakwichen  เรื่องวิทยาศาสตร์กับการทดลอง 

คนที่ 2  Sirada Sakbud     เรื่องภาระกิจตามหาใบ้ไม้ 

คนที่ 3  Siripron Pudlom   เรื่องเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการฉบับเด็กชายขอบ


คนที่ 4   Siriwan Krudnaim   เรื่องการแยกเมล็ดพืช 


คนที่ 5  Kwanruthai Yaisuk   เรื่องเป่าลูกโป่ง 


ขั้นการสอน

   วันนี้อาจารย์สอนเรื่องธรรมชาติของเด็ก
- พอใจคนที่ตามใจ
- มีช่วงความสนใจสั้น 8-10 นาที
- สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
- อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
- ชอบถาม ''ทำไม" ตลอดเวลา
- ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
- ช่วยตนเองได้


การจัดกิจกรรมพัฒนาเด็ก
1. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. จัดให้เด็กได้ฝึกทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
3. จัดกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
4. จัดให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม


นักทฤษฎี

กีเซล (Gesell) เชื่อว่า • พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ

ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่า  • ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็ก ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก

อีริคสัน (Erikson) เชื่อว่า  • ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น

เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่า • พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
ดิวอี้ (Dewey) เชื่อว่า   • เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ

สกินเนอร์ (Skinner)  เชื่อว่า  • ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป

เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi)  เชื่อว่า  • ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา

เฟรอเบล (Froeble) เชื่อว่า   • ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี

เอลคายน์ (Elkind) เชื่อว่า • การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก


กิจกรรม
   หลังจากที่อาจารย์สอนเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนเขียนสรุปแผนผังความคิดได้รับในวันนี้ส่งท้ายคาบ


การนำไปประยุกต์ใช้
   เราสามารถนำการสอนเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆไปปรับใช้ในการจัดการวางแผนในการจัดกิจกรรมได้จริง โดยนำสิ่งของรอบตัวมาสอนเด็กได้และเรายังสามารถนำไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นๆได้อีกด้วย


ประเมิน


ประเมินตนเอง:  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอนได้ดี


ประเมินเพื่อน : การอ่านบทความของเพื่อนยังหามาไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีสื่อในการสอนสามารถทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 2



บันทึกอนุทินครั้งที่  2
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  26 สิงหาคม  พ.ศ. 2557
เวลา  8.30 -  12.20 น.


กิจกรรมวันนี้


    อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก โดยมีรูปเด็กๆร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ดังนี้

- การตอกไข่ : เด็กได้สัมผัส การได้กลิ่น ฝึกการสังเกตุ การทดลอง
- ประสาทสัมผัส : ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส กายประสาทสัมผัส จมูกสูทดม
- การเล่นในมุม : เด็กจะได้ทักษะต่างๆของแต่ละมุม
- การปลูกพืช : พืชบางชนิดต้องดารน้ำและพืชบางชนิดไม่ต้องการน้ำ เป็นการฝึกประสบการณ์ให้แก่เด็ก

แล้วอาจารย์ยังถามคำถามอีกว่า
เมื่อเราพูดถึงเด็กปฐมวัยนึกถึงอะไร ?
1.การเล่น
2.ขี้สงสัย
3.ประสบการณ์
4.การอบรมเลี้ยงดู
5.ความสนุกสนาน
6.การเจริญเติบโต
7.การเรียนรู้
8.การมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน



เด็กปฐมวัย & การรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยคำถามที่ว่า....
วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ?


- ไม่จริง เพราะ วิทยาศาสตร์มีอยู่รอบตัวเด็ก พร้อมทั้งเปิดโอกาศให้เด็กอยากรู้อยากลอง และสนุกในการทำกิจกรรม

ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?
- ไม่ยาก แต่อย่าเอาการคำนวณเข้ามาเยอะ ให้เด็กได้เรียนรู้ประสบการณ์เรื่องนั้นๆ

ควรให้เด็ก อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?
- ควรให้เด็กได้ลองทำด้วยตัวเอง


ทบทวนบทบาท

- เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
- ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
- จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมและต่อยอดทักษะแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
- ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำความความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงในการสอน ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำในสิ่งที่ชอบ ไม่ควรปิดโอกาสความคิด การอยากรู้ การสงสัย ของเด็ก  ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการดูแลลูกด้วย



ประเมิน

ประเมินตนเอง   วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์ มีการจดตามที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน     เพื่อนมีความตั้งใจในการเรียน  มีการแสดงความคิดเห็นกับครูผู้สอนอย่างดี

ประเมินอาจารย์   อาจารย์มีสื่อ Power  Point  ในการสอน  มีการนำภาพมาประกอบให้นักศึกษาดู

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 1


บันทึกอนุทินครั้งที่  1
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  19  สิงหาคม  พ.ศ. 2557
เวลา  8.30 -  12.20 น.

ความรู้ทีได้รับ

 วันนี้อาจารย์ผู้สอนได้แจกแนวการสอนของวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ รู้ถึงการใช้คำถามพัฒนาความคิด
การประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้

ผลลัพท์การเรียนรู้

1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
2.ด้านความรู้
3.ด้านทักษะปัญญา
4.ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
5.ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6.ด้านการจัดการเรียนรู้

  อาจารย์ได้อธิบายวิธีการสร้างบล็อกควรมีองค์ประกอบดังนี้
1.ชื่อและคำอธิบายบล็อก
2.รูปและข้อมูลผู้เรียน
3.ปฏิทินนาฬิกา
4.เชื่อมโยงบล็อกอาจารย์ผู้สอน หน่วยงานสนับสนุน  แนวการสอน งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ บทความ สื่่อ (เพลง เกม นิทาน แบบฝึกหัด ของเล่น)

การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำวิธีการสร้างบล็อกไปปรับใช้ได้กับทุกวิชา และการถามคำถามที่กระตุ้นต่อพัฒนาการของเด็ก
ซึ้งเราได้นำไปใช้จริงในการฝึกสอนเด็กเพื่อให้เกิดการเรียนรู้สิ่่งใหม่ๆได้ดี


ประเมินผล

ประเมินตนเอง     วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์  แต่งกายยังไม่เรียบร้อย  กระโปรง รองเท้าผิดระเบียบ

ประเมินเพื่อน       วันนี้เพื่อนในห้องยังแต่งกายไม่ถูกระเบียบเพราะเป็นสัปดาห์แรก พูดคุยกันบ้าง

ประเมินอาจารย์    อาจารย์ให้ข้อคิดเทคนิควิธีการสอนของวิชานี้ และยังบอกการทำบล็อกอีกทำให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น